วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

สระในภาษาไทย

สระ  
หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้

รูปสระ

รูปสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูปดังนี้
  1. ะ เรียกว่า วิสรรชนีย์
  2. ั เรียกว่า ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
  3. ็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้
  4. า เรียกว่า ลากข้าง
  5. ิ เรียกว่า พินทุ หรือ พิทุอิ
  6. ่ เรียกว่า ฝนทอง
  7. ่ ่ เรียกว่า ฟันหนู
  8. ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
  9. ุ เรียกว่า ตีนเหยียด
  10. ู เรียกว่า ตีนคู้
  11. เ เรียกว่า ไม้หน้า
  12. ใ เรียกว่า ไม้ม้วน
  13. ไ เรียกว่า ไม้มลาย
  14. โ เรียกว่า ไม้โอ
  15. อ เรียกว่า ตัวออ
  16. ย เรียกว่า ตัวยอ
  17. ว เรียกว่า ตัววอ
  18. ฤ เรียกว่า ตัว ฤ (รึ)
  19. ฤๅ เรียกว่า ตัว ฤๅ (รือ)
  20. ฦ เรียกว่า ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  21. ฦๅ เรียกว่า ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

เสียงสระ

เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ดังนี้
อาอิอีอึอือุอู
เอะเอเเอะเเอเอียะเอียเอือะเอือ
อัวะอัวโอะโอเอาะออเออะเออ
อำใอไอเอาฤๅฦๅ

เมื่อเวลาออกเสียงสระ เช่น อะ อา เอะ เอ เอียะ เอีย จะออกเสียงแตกต่างกัน บางตัวออกเสียงสั้น บางตัวออกเสียงยาว บางตัวเหมือนมีสระสองเสียงกล้ำกัน ดังนั้น จึงจัดแบ่งเสียงสระเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ 5 พวกด้วยกัน คือ
  • สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ไอ ใอ เอา
  • สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ
  • สระเดี่ยว ได้แก่ สระที่เปล่งเสียงออกมาเป็นเสียงเดียว ไม่มีเสียงอื่นประสมมี 18 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ
  • สระประสม คือ สระที่มีเสียงสระเดี่ยว 2 ตัวประสมกัน มี 6 ตัวได้แก่
  1. เอียะ เสียง อิ กับ อะ ประสมกัน
  2. เอีย เสียง อี กับ อา ประสมกัน
  3. เอือะ เสียง อึ กับ อะ ประสมกัน
  4. เอือ เสียง อื กับ อา ประสมกัน
  5. อัวะ เสียง อุ กับ อะ ประสมกัน
  6. อัว เสียง อู กับ อา ประสมกัน
  • สระเกิน คือ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระเดี่ยว ต่างกันก็แต่ว่าสระเกินจะมีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย มี 8 ตัว ได้แก่
  1. ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ (รึ รือ ลึ ลือ) มีเสียงพยัญชนะ ร ล ประสมอยู่
  2. อำ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ม สะกด
  3. ใอ ไอ มีเสียง อะ และพยัญชนะ ย สะกด (คือ อัย)
  4. เอา มีเสียง อะ และพยัญชนะ ว สะกด

บางตำราถือว่าภาษาไทยมี 21 เสียง ทั้งนี้ คือไม่รวมสระเกินซึ่งถือว่าเป็นหน่วยเสียงในตัวเองโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว และไม่รวมสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ เนื่องจากมีที่ใช้ในภาษาไทยน้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำเลียนเสียงธรรมชาติซึ่งไม่ได้ใช้สื่อความหมายอื่น

การใช้สระ

  1. สระอะ (-ะ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอะ เช่น กะ จะ ปะ
  2. สระอา (-า) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอา เช่น มา กา ตา
  3. สระอิ (-ิ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอิ เช่น บิ สิ มิ
  4. สระอี (-ี) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอี เช่น ปี ดี มี
  5. สระอึ (-ึ) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอึ เช่น หึ สึ
  6. สระอื (-ื) เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอื แต่การใช้สระอื ต้องมี อ มาประกอบด้วย เช่น มือ ถือ ลือ
  7. สระอุ (-ุ) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอุ เช่น ผุ มุ ยุ
  8. สระอู (-ู) เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอู เช่น ดู รู งู
  9. สระเอะ (เ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอะ เช่น เละ เตะ เกะ
  10. สระเอ (เ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอ เช่น เก เซ เข
  11. สระแอะ (แ-ะ) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอะ เช่น และ แพะ แกะ
  12. สระแอ (แ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอ เช่น แล แพ แก
  13. สระเอียะ (เ-ียะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอียะ เช่น เผียะ เพียะ เกียะ
  14. สระเอีย (เ-ีย) เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอีย เช่น เสีย เลีย เปีย
  15. สระเอือะ (เ-ือะ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ
  16. สระเอือ (เ-ือ) เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอือ เช่น เสือ เรือ เจือ
  17. สระอัวะ (-ัวะ) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัวะ เช่น ผัวะ ยัวะ
  18. สระอัว (-ัว) เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัว เช่น ตัว รัว หัว
  19. สระโอะ (โ-ะ) เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอะ เช่น โปะ โละ แต่ถ้ามีตัวสะกด จะตัดสระโอะออกเหลือแต่พยัญชนะต้นกับตัวสะกด เรียกว่า สระโอะลดรูป เช่น คน รก จง
  20. สระโอ (โ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอ เช่น โต โพ โท
  21. สระเอาะ (เ-าะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอาะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  22. สระออ (-อ) เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระออ เช่น ขอ รอ พอ
  23. สระเออะ (เ-อะ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
  24. สระเออ (เ-อ) เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออ เช่น เจอ เธอ เรอ ถ้ามี ย สะกด จะตัด อ ออกแล้วตามด้วย ย เลย เช่น เขย เกย เฉย เรียกว่า สระเออลดรูป ถ้ามีตัวสะกดอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ ย จะเปลี่ยน อ เป็นสระอิ เช่น เกิด เลิก เงิน เรียกว่า สระเออเปลี่ยนรูป
  25. สระอำ (-ำ) เขียนไว้บนและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอำ เช่น รำ ทำ จำ
  26. สระใอ (ใ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระใอ มีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่
  27. สระไอ (ไ-) เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระไอ เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี - ไตร ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ
  28. สระเอา (เ-า) เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอา เช่น เกา เผา เรา



พยัญชนะไทย

พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว

ได้แก่

ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ 

ฎ 
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น 

บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ 

ษ ส ห ฬ อ ฮ

พยัญชนะไทยบางตัวได้เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ ฃ ฅ 
พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว จัดแบ่งออกเป็นอักษร 3 หมู่ หรือไตรยางค์ ได้แก่

อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ
อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

อักษรสูงและอักษรต่ำ มีความสัมพันธ์ในลักษณะของอักษรคู่และอักษรเดี่ยว
อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง เรียกว่า อักษรคู่ มีดังนี้ 
  • ข ฃ คู่กับ ค ฅ ฆ
  •  คู่กับ ช ฌ
  • ฐ ถ คู่กับ ฑ ฒ ท ธ
  •  คู่กับ พ ภ
  •  คู่กับ 
  • ศ ษ ส คู่กับ 
  • ห คู่กับ 
อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว เรียกว่า อักษรเดี่ยว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ


อ้างอิงจาก : http://tutorial-thai.blogspot.com/2010/02/44.html






วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มาตราตัวสะกด แม่เกอว

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว

คือ คำที่มี ว เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ว

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว

ได้แก่ กริ้ว ก๋วยเตี๋ยว ข้าวยำ ข่าวลือ จิ๋ว เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์

ต้นงิ้ว ท้าวไท ทาวน์เฮ้าส์ ประเดี๋ยว ยั่ว เลิกคิ้ว หิวข้าว เหว อ่าว


มาตราตัวสะกดแม่กบ

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ

มาตราแม่ กบ คือ คำที่มีตัว บ ป พ ภ เป็นตัวสะกด

อ่านออกเสียง บ สะกด เช่น

 ลูบ ฟุบ รบ ลอบ เล็บ สลบ ฉับไว ประดับ ขยับ ซุบซิบ

อาบน้ำ ไหวพริบ โต้ตอบ เหน็บชา

 สรุป ทวีป ทำบาป สาปแช่ง ธูปเทียน รูปภาพ สัปดาห์ รูปหล่อ ประชาธิปไตย อัปลักษณ์

 ภาพยนต์ ลพบุรี งานศพ มหรสพ เคารพ สภาพ พิภพ กรุงเทพฯ อพยพ

นพรัตน์ นิพพาน สรรพ อานุภาพ โพสพ แม่นพดารา เจ้าภาพ

 พฤษภ มีลาภ โลภมาก



อ้างอิงจาก : https://ilovethai.wikispaces.com/มาตราตัวสะกด

มาตราตัวสะกดแม่ ก.กา

คำในแม่ ก กา เป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด ท้ายคำ หรือ ท้ายพยางค์

อ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา

ได้แก่ กติกา โกลี คร่ำคร่า เคอะ เงอะงะ เฉโกโว้เว้ ซาฟียะห์

น้ำบูดู ปรานี ไม่เข้ายา โยทะกา เรือกอและ เล้า โสภา หญ้าคา อาชา


มาตราตัวสะกดแม่เกย

พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย

คือ คำที่มี ย เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง ย

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย

ได้แก่ กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย

เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย อาชาไนย





อ้างอิงจาก : ttps://ilovethai.wikispaces.com

มาตราตัวสะกดแม่กม

มาตราแม่ กม คือ คำที่มีตัว ม มิ เป็นตัวสะกด

อ่านออกเสียง ม สะกด เช่น

 เกม คราม กรรม นาม ออม ขม รอมชอม ซุ่ม ธรรมเนียม สะสม อารมณ์

กรม เจ้ากรม เจ้าจอม ปฐม พระนาม อาศรม ทะนุถนอม รื่นรมณ์

มิ ภูมิใจ ภูมิ ภูมิลำเนา ภาคภูมิ พระภูมิ ภูมิภาค



อ้างอิงจาก : ttps://ilovethai.wikispaces.com