วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การใช้คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ  

หมายถึง  คำที่มีพยัญชนะสองตัวเขียนเรียงติดกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออก

เสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน   เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า



            

คำควบกล้ำ  มี  2  ชนิด คือ  คำควบแท้  และ  ควบไม่แท้

คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร  ล  ว  ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียง


พยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น

           
พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่   พร้อม  เพราะ   ใคร   กรอง  ครองแครง ขรุขระ  พระ ตรง ครั้ง  กราบ โปรด 

ปรักปรำ  ปรับปรุง   ครื้นเครง  เคร่งครัด  ครอบครัว  โปร่ง

          พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่  กลบเกลื่อน  กลมกลิ้ง  เกลี้ยกล่อม  เกลียวคลื่น    เคลื่อน

คล้อย   ปลา   ปลวก  ปล่อย    เปลี่ยนแปลง    คลุกคลาน   เพลิง   เพลิดเพลิน    คล่องแคล่ว   
          

           พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่  แกว่งไกว   กวาด  กว่า   ขวาง  ขว้างขวาน ขวิด   แขวน 

ขวนขวาย   ควาย    เคว้งคว้าง   คว่ำ  ควาญ   ความ  แคว้น ขวัญ ควัน
          

คำควบไม่แท้ 
         

คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร  ออกเสียง

เฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป
        

 คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า  ได้แก่พยัญชนะ จ  ซ  ศ  ส  ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า

สร้อย  ศรี   ศรัทธา  เสริมสร้าง  สระ  สรง  สร่าง
         

คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม  มัท

รี  อินทรี  นนทรี  พุทรา  


อ้างอิงจาก : หนังสือ ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา
ผู้เรียบเรียง : นายภาสกร เกิดอ่อน
                : นางสาวระวีวรรณ อินทรประพันธ์
                : นางฟองจันทร์ สุขยิ่ง
                : นางกัลยา สหชาติโกสีย์








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น